วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อาชีพในอนาคตที่ใฝ่ฝัน


                                                             อาชีพในอนาคตที่ใฝ่ฝัน



                          อาชีพครู คือ อาชีพที่ ถ่ายทอดความรู้ ด้วยวิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบเพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อาชีพครู สามารถจำแนกออกได้หลายประเภทตามลักษณะการสอนและลักษณะของสังกัดอีกด้วยเช่น
ครูในสังกัดโรงเรียนสามัญ จะประกอบไปด้วยครู 8 กลุ่มสาระ และครูกิจกรรม
ยกตัวอย่างเช่น ครูผู้สอนภาษาต่างประเทศ ครูผู้สอนภาษาไทย
ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนศิลปะ
ครูผู้สอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์
ครูผู้สอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ครูผู้สอนพลศึกษาและสุขศึกษา
ครูผู้จัดกิจกรรมแนะแนว และอื่น ๆ ตามลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ครูในสังกัดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาสายอาชีพ/อาชีวะ จะประกอบไปด้วยครูผู้มีความชำนาญด้านสายอาชีพ
ยกตัวอย่างเช่น
ครูผู้สอนช่างยนต์ ครูผู้สอนเขียนแบบ
ครูผู้สอนช่างอิเล็กทรอนิกส์ ครูผู้สอนช่างไฟฟ้า
ครูผู้สอนช่างก่อสร้าง ครูผู้สอนช่างกล
ครูผู้สอนช่างเชื่อม และครูผู้สอนอื่น ๆ ตามลักษณะสายอาชีพที่ต้องการฝึกฝนผู้เรียนให้เกิดความพร้อมในการประกอบอาชีพ ตามสาขาวิชาที่เปิดสอน
ครูนอกสังกัด นับว่าเป็นครูเช่นกัน เช่น ครูในสถาบันกวดวิชา
ครูสอนดนตรี ครูสอนเต้น ก็ถือได้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นครู แต่ไม่ได้อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ อาจไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู
แต่บุคคลเหล่านั้นถือว่าได้มีการสั่งสอน จึงจัดว่าเป็นครู(ตามทัศนคติของผมเอง)
หรือมากไปกว่านั้นยังมีครูพื้นบ้าน และผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ เขาก็คือครูโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจก็ตาม
และอาจมีประเภทสายการสอนของครูในยุคอนาคตเกิดขึ้นใหม่ตามวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงอีกมากมาย เพราะเกิดวิทยาการใหม่ ๆ ย่อมต้องมีการถ่ายทอดความรู้ จึงต้องพึ่งพาผู้มีความรู้มาถ่ายทอด
ครูก็คือผู้ถ่ายทอดความรู้ที่ตนมีให้ผู้อื่น เพื่อให้เกิดความรู้และสติปัญญาในเรื่องนั้น ๆ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพครู
1.  ผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป (คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์)
2.  มีใบประกอบวิชาชีพครู
3.  มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง ตามวิชาที่ตนถนัด
4.  มีความซื่อสัตย์ สุจริต
5.  รักเด็ก มีจิตใจโอบอ้อมอารี
6.  ศรัทธาต่อวิชาชีพครู
7.  รักการแสวงหาความรู้
8.  ชอบการสอน
9.  อื่นๆ
นอกเหนือจากนี้คือคุณสมบัติของครูที่มีความสามารถเฉพาะด้านโดยไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้
1)  มีความรู้ ความชำนาญและเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ
2)  เป็นผู้มากประสบการณ์ และต้องการถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รู้และทราบ
3)  เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ที่ตนมีให้ผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ
4)  อื่น ๆ
ขอบข่ายงานของอาชีพครู
1.  การจัดการสอน/การจัดการเรียนรู้
2.  เป็นที่ปรึกษาให้ผู้เรียน
3.  ดูแลผู้เรียนทุกคนที่อยู่ในโรงเรียน
4.  แสวงหาวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ
5.  หน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานและสถานศึกษา
แนวทางการพัฒนาอาชีพครู
1.  ครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
1.1  ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
1.2  ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
1.3  ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
2.  ครูเอกชน
3.  ครูอัตราจ้าง
4.  ครูพี่เลี้ยงเด็ก
5.  ผู้อำนวยการโรงเรียน
6.  เจ้าของกิจการสถานศึกษาเอกชน
7.  เจ้าของกิจการโรงเรียนกวดวิชา
8.  เปิดสอนพิเศษ
9.  ผู้ทรงคุณวุฒิ
10.  นักวิชาการ
11.  นักการศึกษา
12.  อื่น ๆ
คณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์
 มีเป้าหมายที่สำคัญคือการผลิตครูและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพและสร้างประโยชน์ให้แก่ สังคม 
     ดังนั้นผู้เรียนจะได้เรียนรู้เนื้อหาของสาขาวิชาที่
ตนเลือกศึกษาไปพร้อมๆ กับจะถูกปลูกฝังถึงจิตสำนึก ในการเป็นครูที่ดีในอนาคต รวมถึงแทบทุกมหาวิทยาลัย จะมีวิชาบังคับให้ฝึกงานในโรงเรียนประถมหรือ มัธยมศึกษาต่างๆ
 ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์จำนวนมาก ได้แก่
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
    มหาวิทยาลัยนเรศวร
    มหาวิทยาลัยบูรพา 
    มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
    มหาวิทยาลัยรามคำแหง  
    มหาวิทยาลัยศิลปากร  
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
    มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ
    นอกจากนี้ยังมีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
โดยสาขาที่เปิดสอนนั้น มีจำนวนมาก อาทิ
    - สาขาการสอนวิชาต่างๆ เช่น คณิต วิทย์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ จีน ฝรั่งเศส ศิลปะ ดนตรี คอมพิวเตอร์ สุขศึกษา แนะแนว
    - สาขาการสอนในระดับชั้นต่างๆ เช่น ปฐมวัย มัธยมศึกษา การศึกษานอกระบบ อุดมศึกษา
    - สาขาเทคโนโลยีการศึกษา
    - สาขาการบริหารการศึกษา
    - สาขาการวัดผลการศึกษา
    - สาขาธุรกิจการศึกษา
    เป็นต้น
    ส่วนคณะครุศาสตร์อุตสาหรรม จะสอนเนื้อหาของครุศาสตร์รวมกับวิศวกรรม เช่น วิศวะกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมโยธา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นต้น



                         รายการอาชีพครู by YesSir! Film






วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันวิทยาศาสตร์



ความเป็นมาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2525 โดย มติของคณะรัฐมนตรี ให้มีวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระองค์ท่านได้ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ได้อย่างแม่นยำ และต่อมาได้มีการสร้าง อุทยานวิทยาศาสตร์ ที่ บ้านหว้ากอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้รับพระบรมราชานุญาติให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์ท่าน

                                                           รัชกาลที่ 4 กับวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทยในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า ปฏิทินปักขคณนา” (ปักขคณนาคือวิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดานไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า กระดานปักขคณนาซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่จุดประกายให้พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในวิชาดาราศาสตร์อย่างจริงจัง และถือเป็นเหตุของที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติอีกทางหนึ่ง

ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว เซอร์แฮรี ออด ได้ทำการบันทึกเหตุการณ์ไว้ และเมื่อ พ.ศ.2518 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ทำการแปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพมหานคร ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์